ฝ้า กระ จุดด่างดำ หนึ่งในปัญหาผิวที่สามารถมองเห็นได้บนใบหน้าอย่างชัดเจน มีผลทำให้สีผิวหน้าไม่สม่ำเสมอและยากต่อการปกปิด ปัญหาผิวนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดได้ทั้งฮอร์โมนภายในร่างกาย และสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ขึ้นได้
• ฝ้า (Melasma) เกิดจากเซลล์เมลาโนไซต์ที่อยู่ในหนังกำพร้าชั้นล่างสุดของผิวหนัง ผลิตเมลานินหรือเม็ดสีออกมามากเกินจำเป็นบนหนังชั้นกำพร้า ทำให้เกิดเป็นรอยปื้นสีน้ำตาลที่เห็นได้อย่างชัดเจน กระจายเป็นวงกว้างและมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจนนัก โดยสามารถแบ่งฝ้าออกได้ 2 ประเภทคือ ฝ้าตื้น และ ฝ้าลึก ซึ่งมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น แสงแดด หรือฮอร์โมนภายในร่างกาย นอกจากนี้ ฝ้ามักถูกเรียกว่า "หน้ากากของหญิงตั้งครรภ์" หรือ "the mask of pregnancy" เนื่องจากพบในผู้หญิงตั้งครรภ์มากถึง 90%
• กระ (Freckle) มีลักษณะการเกิดคล้ายกับฝ้าคือ เม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment) ทำงานผิดปกติ จึงทำให้สีผิวบริเวณนั้นมีสีน้ำตาลหรือสีดำเป็นจุดเล็กๆ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีผิวขาว ปรากฎตามใบหน้า ลำคอหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ อาจมีสีเข้มขึ้นและกระจายเพื้นที่ใหญ่ขึ้นได้เมื่อถูกกระตุ้น โดยประเภทของกระสามารถแบ่งออกตามสาเหตุการเกิดได้ 4 ประเภทคือ กระตื้น กระลึก กระแดด และกระเนื้อ
เมลานิน คือ เม็ดสีตามธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้น อยู่ในผิวหนัง ผม และนัยน์ตาของเรา มีหน้าที่ป้องกันแสงหลายประการ ได้แก่ ทำหน้าที่เสมืนแผ่นดรองแสง ช่วยการดระจายแสง และดูดซึมรังสี UV การผลิตเม็ดสีเมลานินจำนวนมากเกินไปเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลักๆ นั้นมักเกี่ยวข้องกับการตากแดดมากเกินไป กรรมพันธุ์ อายุ การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน อาการบาดเจ็บหรืออักเสบของผิว
ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ
• พันธุกรรมและฮอร์โมน : ถือเป็นปัจจัยภายในที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ เช่น ฝ้าที่มักพบได้ในคนช่วงวัย 30+ และผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น ทำให้ฝ้าปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด หรือ กระที่มักพบได้มากว่ามีสาเหตุการเกิดมาจากพันธุกรรม ทำให้บางคนมีกระขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็ก หรือในกลุ่มที่มีผิวขาว เช่น ชาวยุโรป
• แสงแดด : ศัตรูหมายเลขหนึ่งของผิวหนัง และเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ เพราะแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นโดยตรงในการการผลิตเม็ดสีเมลานินในผิว ซึ่งหน้าที่ของเมลานินเสมือนเป็นเกราะป้องกันแดดตามธรรมชาติของผิว และปกป้องผิวจากรังสียูวี ดังนั้น เมื่อเราตากแดดผิวจึงกลายเป็นสีคล้ำเนื่องจากร่างกายผลิตเมลานินเพิ่มขึ้นมากกว่าปกตินั่นเอง แต่ถ้าหากเราเจอแดดมากเกินไป กระบวนการนี้อาจนำไปสู่ภาวะไฮเปอร์พิกเมนเทชั่น ทำให้เกิดเป็นจุดด่างดำ ฝ้า กระตามมา ส่งผลให้ผิวหน้าดูหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส กลายเป็นปัญหาหนักใจของสาวๆ ฉะนั้นการจำกัดเวลาในการอยู่กลางแดด สวมเสื้อยืดแขนยาวปกป้องผิว และใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องแสงแดดสูงจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดจุดด่างดำได้
• ผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์ : แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรง แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำขึ้นได้ ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัด การให้ยาเคมีบำบัด การใช้ยาประเภทอื่นๆ เช่น ยาคุมกำเนิด คนที่มีโรคประจำตัวและขาดวิตามินที่จำเป็น รวมถึงการทำทรีทเม้นต์หน้าด้วยการทำเลเซอร์ ที่อาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นในภายหลัง
จุดด่างดำ ฝ้า กระ ดูแลรักษาอย่างไร?
ปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ เป็นปัญหาผิวที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถช่วยลดเลือนจุดด่างดำให้จางลงได้ ดังนี้
1.การทำทรีทเม้นต์หน้าเพื่อลดจุดด่างดำ
• การขัดผิว การขัดผิวเพื่อกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวใหม่ เป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นบนที่มีปัญหาออก ด้วยวิธีการสครับผิว แล้วผิวหนังก็จะสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ
• การใช้สารเคมี การใช้สารเคมีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ผิวหนัง ช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังชั้นบนออก หลังจากเซลล์ผิวเก่าหลุดลอกไปแล้วก็จะเผยผิวใหม่ที่มีสีสม่ำเสมอมากขึ้น
• การใช้เลเซอร์ คือการผลัดเซลล์ผิวเก่าออกด้วยแสงเลเซอร์ สามารถเจาะจงบริเวณที่จะทำการรักษาได้ เนื่องจากแพทย์ผิวหนังสามารถควบคุมความเข้มข้นของการรักษา ลำแสงเลเซอร์สามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่ผิวหนังชั้นบนสุดจนถึงผิวหนังชั้นล่างสุด
การทำทรีทเม้นต์ทั้งสองประเภทถือว่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงในการรักษาจุดด่างดำ ฝ้า กระ แต่ก็มีราคาสูง ผิวหน้าอาจจะบวมแดงและต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นหลังจากการรักษา นอกจากนั้นแล้วยังอาจสามารถสร้างความระคายเคืองให้กับผิวได้ โดยเฉพาะคนที่มีผิวสีเข้ม
2.ผลิตภัณฑ์ดูแลฝ้า กระ จุดด่างดำ
ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมามีผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่งในท้องตลาดมากมายที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อตอบโจทย์ในการลดเลือนการเกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ โดยมักมีสารไวท์เทนนิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นส่วนประกอบสำคัญของครีมรักษาฝ้า กระ ที่นิยมในปัจจุบัน ดังนี้
• อาร์บูติน (Arbutin) : เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ผิวให้ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวหมองคล้ำหรือสีของจุดด่างดำ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการยับยั้งเอ็นไซม์ Tyrosine และ DOPA ในกระบวนการ Oxidation หรือการสร้างอนุมูลอิสระซึ่งจะส่งผลเสียหลายประการต่อผิวพรรณของเรา ดังนั้นการใช้อาร์บูตินจึงช่วยให้รอยด่างดำจางหายลงไป ผิวเนียนแลดูกระจ่างใสขึ้น
• AHA : ย่อมาจากคำว่า alpha hydroxy acid หมายถึงสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็นกรดเป็นสารที่สกัดจากผลไม้ธรรมชาติด้วยกระบวนการ fermentation หรือการบ่ม ของอาหารกลุ่มนม มีฤทธิ์สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิว
• วิตามินซี (VitaminC) : เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อนำไปสร้างคอลลาเจน ซึ่งคอลลาเจนมีประโยขน์ต่อการรักษาสุขภาพและยังช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก ฟัน และผิวหนัง
• ไฮโดรควิโนน : เป็นส่วนประกอบของยารักษาฝ้าที่ใช้บ่อยที่สุด เป็นสารไฮดรอกซีฟีนอลที่ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งทำให้การผลิตเม็ดสีน้อยลง และส่วนของไฮโดรควิโนนที่ถูกย่อยสลายก็ยังยับยั้งการ ท างาน ของเซลล์สร้างเม็ดสีได้ แต่มีผลข้างเคียง คือ อาการแสบร้อน ระคายเคืองผิว การใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง
การป้องกันฝ้า กระ และจุดด่างดำ
• ใช้ครีมกันแดดและโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไปที่มีส่วนผสมของ PA ซึ่งมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันรังสีอัลตร้า UVA และ UVB
• สวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยกันแสงแดดกระทบผิวโดยตรง เช่น ร่มกันแเด หมวกปีกกว้าง เสื้อแขนยาว เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ส่งผลกระทบกับฮอร์โมนเช่น ยาคุมกำเหนิด เป็นต้น
• หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพราะจะทำให้ผิวบอบบาง ไวต่อแสง
• การขัดผิว การสครับผิว หรือวิธีการใดๆที่เป็นการผลัดเซลล์ผิวเก่าออก ควรคำนึงถึงกิจกรรมหลังจากนั้นว่าผิวต้องเผชิญกับแสงแดดอีกหรือไม่ รวมไปถึงความถี่ของการผลัดเซลล์ผิว ควรเว้นระยะให้ผิวชั้นนอกสุดได้ฟื้นฟูความแข็งแรง
Comments